แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) : แผนที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ | |||||||
ประเด็นยุทธศาสตร์/พันธกิจ : ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง : พันธกิจที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดีของมหาวิทยาลัย |
|||||||
องค์ความรู้ที่จำเป็น : การพัฒนาการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง | |||||||
ตัวชี้วัด (KPI) : จำนวนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ อย่างน้อย 1 องค์ความรู้ | |||||||
เป้าหมายของตัวชี้วัด : จำนวนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่นำไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย 1 องค์ความรู้ | |||||||
ลำดับ |
กิจกรรมการจัดการความรู้ |
ระยะเวลา |
ตัวชี้วัด |
เป้าหมาย |
กลุ่มเป้าหมาย |
ผลการดำเนินงาน/เอกสาร/หลักฐาน |
|
1 |
การบ่งชี้ความรู้ -แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้
-ประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้เพื่อกำหนดองค์ความรู้
|
ก.ย.65
ต.ค.65 |
- จำนวนคณะทำงานการจัดการความรู้ -จำนวนความรู้ที่ได้จากการบ่งชี้ (ทะเบียนความรู้) |
ไม่น้อยกว่า 15 คน
ไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง |
บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ |
- คำสั่งคณะศิลปศาสตร์ ที่ 357/2565 ลว. 16 กันยายน 2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ประจำปีการศึกษา 2565 |
|
2 |
การสร้างและแสวงหาความรู้ -ค้นหาความรู้เกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการของคณะ |
ต.ค.65-เมย.66 |
มีทะเบียนความรู้จากการบ่งชี้ที่อยู่ในบุคคลทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน |
ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง |
บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ |
สร้างและรายงานผลการแสวงหาความรู้ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1.การประชาสัมพันธ์คณะศิลปศาสตร์ โดยใช้ Google Data Studio (นางสาวไพลิน ฉิมฉวี) 2.การใช้ Google Data Studio จัดทำฐานข้อมูลบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มทร.สุวรรณภูมิ (นายจิระวุฒิ สาระธรรม) 3.การจัดการการสื่อสารของสโมสรนักศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Discord) (นางสาวปานวาส ประสาทศิลป์) 4.ระบบจองห้องประชุมหรือห้องเรียนออนไลน์ของสำนักงานคณบดี ศูนย์นนทบุรี (นางสาวพรทิพย์ มหิพันธุ์) 5.ขั้นตอนการส่งหนังสือประชาสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานคณบดีประจำศูนย์พื้นที่และบุคลากรภายในศูนย์สุพรรณบุรี (นางสาวณพัศศิกาณฑ์ อภิพงศ์ภานุ) |
|
3 |
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ -จัดทำทะเบียนความรู้/คลังความรู้
|
ต.ค. 65 – เม.ย.66 |
มีทะเบียนรายการความรู้ที่ได้รับการบ่งชี้/คลังความรู้ |
มีทะเบียนความรู้/คลังความรู้ |
บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ |
มีทำเนียบรายชื่อบุคลากรที่เชี่ยวชาญ
|
|
4 |
การประมวลและกลั่นกรองความรู้ - จัดหา รวบรวม และกลั่นกรองแนวปฏิบัติที่ดีในตัวบุคคล |
ม.ค.-เม.ย.66 |
มีรายงานองค์ความรู้ที่ใช้ในการบริหารจัดการ |
มีระบบการประมวลความรู้ไว้บริการบุคลากร จำนวน 1 ระบบ |
บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ |
ระบบคลังความรู้ด้านการบริหารจัดการไว้บริการบุคลากร - คู่มือการให้บริการนักศึกษาเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียนกรณีพิเศษของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มทรส. |
|
5 |
การเข้าถึงความรู้ -เผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี Web site คณะ -จัดทำเป็นเอกสาร e-document หนังสือเวียน -บอร์ดประชาสัมพันธ์ -การอบรม สัมมนากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -สื่อ Social media
|
ธ.ค. 65- ต.ค.66 |
มีจำนวนความรู้ที่สามารถเข้าถึงและมีการประชาสัมพันธ์ความรู้ภายในองค์กร |
อย่างน้อยเดือนละ 1 เรื่อง (ไม่จำกัดช่องทาง) |
บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ |
- เผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีผ่านทาง Web site, Line Facebook ของคณะ https://arts.rmutsb.ac.th/content/340 - จัดทำเป็นเอกสาร e-document หนังสือเวียนรายเดือน |
|
6 |
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประกวดแนวปฏิบัติที่ดี -ชุมชนนักปฏิบัติ (COP) |
เม.ย.-พ.ค. 66 |
จำนวนครั้งของการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง/ปีการศึกษา |
บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ |
- จัดโครงการการจัดการความรู้ ในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อเป็นการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการในวันที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 13.30-16.30 น. |
|
7 |
การเรียนรู้ -บุคลากรนำการจัดการความรู้ไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนางาน |
เม.ย.66-ก.ย.66 |
จำนวนบุคลากรในคณะที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นจากการนำความรู้จากการจัดการความรู้ไปใช้ |
จำนวนบุคลากรมีสามรรถนะด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 60 |
บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ |
-บุคลากรในคณะได้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาการจัดการความรู้ ในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานในวันที่ 20 เมษายน 2566 โดยนำองค์ความรู้ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากำหนดเป็นนโยบายให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการ นำไปปรับใช้เพื่อพัฒนางานของตนเอง |